ประวัติศูนย์ฯ

 

ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

***************

 

๑. ความเป็นมา/แนวพระราชดำริ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ณ กิ่งอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ได้ทรงมีพระเมตตาธิคุณ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพทำนาไม่ได้ผล จึงได้มีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันพิจารณาจัดตั้ง          ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบบเบ็ดเสร็จขึ้น/และให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานศูนย์ฯ ในลักษณะเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๓  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร     กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร บ้านวนาสวรรค์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง เพื่อทรงทอดพระเนตรผลการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ และได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาก่อสร้างระบบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพื้นที่การส่งน้ำไปยังที่ดินของราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ด้วย  และทรงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาช่วยเหลือราษฎรในการปรับปรุงบำรุงดิน ลดพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง ปอแก้ว  ข้าวโพด โดยเปลี่ยนมาปลูกไม้ผลให้มากยิ่งขึ้น ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม สรุปความว่า ที่นี่มีปัญหาเรื่องดินเป็นดินดาน จึงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิน พิจารณาช่วยเหลือราษฎรในการปรับปรุงดิน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา จัดหาน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรด้วย และเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านพนมชัย หมู่ที่ ๕ ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ทรงมีพระราชดำริว่า ให้กรมชลประทาน พิจารณาพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินแตกและลำห้วยไผ่ พร้อมคลองส่งน้ำ ช่วยเหลือราษฎร แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับเรื่องการทำกินในพื้นที่ป่าไม้ของราษฎรนั้น ทรงมีพระราชดำริ ให้กรมป่าไม้พิจารณา จัดหาพื้นที่เพื่อลองทำโครงการ โดยส่งเสริมอาชีพเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำลายป่า  ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร มีแผนการปฏิบัติงานสนองพระราชดำริ  ซึ่งอยู่ภายใต้แผนพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต กิจกรรมการทดสอบและพัฒนาระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการวิชาการเกษตรทั้งภายในและภายนอกโครงการ ซึ่งแผนการปฏิบัติงานดังกล่าวให้ดำเนินการตามแผนแม่บท ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๖ เป็นต้นมา 

. การสนองพระราชดำริ/การเข้าร่วมโครงการของกรมวิชาการเกษตร

                กรมวิชาการเกษตร ได้สนองพระราชดำริ โดยทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืช ที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้ผลผลิตสูง รวมทั้งการสนับสนุนให้เกษตรกรได้น้อมนำการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้อย่างกว้างขวาง โดยนำพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนา ที่กรมวิชาการเกษตร รับรองพันธุ์แล้วไปเผยแพร่ และส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกอย่างแพร่หลาย

๓. วัตถุประสงค์

         ๓.๑ วัตถุประสงค์หลัก

                ๓.๑.๑ เพื่อสนองพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง

                ๓.๑.๒ เป็นศูนย์กลางสาธิตการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และเป็นตัวอย่างเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกษตร         ให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเองตามสภาพภูมิสังคม

                ๓.๑.๓ เพื่อเป็นสถานที่ให้บริการทางวิชาการเกษตร และสนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ดีสู่เกษตรกร

         ๓.๒ วัตถุประสงค์เฉพาะในส่วนของงานวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                ..๑ การทดสอบพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ เพื่อขยายผลสู่เกษตรกร หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

                ๓.๒.๒ ขยายผล เกษตรทฤษฎีใหม่สู่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

. พื้นที่เป้าหมาย

           .๑ พื้นที่เป้าหมายของโครงการ :

ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ บ้านตะแบงใต้ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยตึ๊กชู อำเภอ      ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ดำเนินการสำหรับเป็นแปลงเรียนรู้ และศึกษาดูงาน ในพื้นที่ จำนวน ๕๔๐ ไร่ 

 ๔.๒ หมู่บ้านเป้าหมายเร่งด่วนอันดับ 1 ประกอบด้วย ๒๗ หมู่บ้าน ๗ ตำบล ดังนี้

   (๑) ตำบลห้วยตึ๊กชู รวม ๑๘ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตะแบง หมู่ที่ ๑ บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๒ บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ ๓  บ้านจอก หมู่ที่ ๔ บ้านตาเม็ง หมู่ที่ ๕  บ้านนกยูง หมู่ที่ ๖ บ้านโคกเจริญ หมู่ที่ ๗ บ้านโคกทะลอก หมู่ที่ ๘ บ้านตะแบงใต้ หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งหลวง หมู่ที่ ๑๐ บ้านภูสิงห์ หมู่ที่ ๑๑ บ้านห้วยตึ๊กชู หมู่ที่ ๑๒ บ้านนกยูงทอง หมู่ที่ ๑๓ บ้านโคกสามัคคี หมู่ที่ ๑๔ บ้านคลองสาน หมู่ที่ ๑๕ บ้านโพธิ์คำ หมู่ที่ ๑๖ บ้านนกยูงเงิน หมู่ที่ ๑๗ บ้านหนองแบกชะนัง หมู่ที่ ๑๘ 

(๒) ตำบลไพรพัฒนา ได้แก่ บ้านวนาสวรรค์ หมู่ที่ ๕

(๓) ตำบลโคกตาล ได้แก่ บ้านเรือทอง หมู่ที่ ๕ บ้านคลองคำโคกแต้ หมู่ที่ ๗ บ้านโคกทุ่งล้อม หมู่ที่ ๘ 

(๔) ตำบลตะเคียนราม ได้แก่ บ้านกระโดน หมู่ที่ ๖ บ้านอุดมพัฒนา หมู่ที่ ๑๐

(๕) ตำบลละลม ได้แก่ บ้านธาตุทอง หมู่ที่ ๘

(๖) ตำบลห้วยตามอญ ได้แก่ บ้านพนมชัย หมู่ที่ ๕

(๗) ตำบลดงรัก ได้แก่ บ้านคูสี่แจ หมู่ที่ ๔

             ๔.๓ หมู่บ้านเป้าหมายเร่งด่วนอันดับ ๒ ประกอบด้วย ๔2 หมู่บ้าน ๔ ตำบล

(๑) ตำบลห้วยตามอญ ได้แก่ บ้านห้วย หมู่ที่ ๑ บ้านทำนบ หมู่ที่ ๒ บ้านไทยถาวร หมู่ที่ ๓ บ้านหนองเขียน     หมู่ที่ ๔ บ้านโคกหลัก หมู่ที่ ๖ บ้านศรีอุดมพัฒนา หมู่ที่ ๗ บ้านตามอญ หมู่ที่ ๘ บ้านโพธิ์ไทร หมู่ที่ ๙ บ้านขะยูง หมู่ที่ ๑๐

(๒) ตำบลละลม ได้แก่ บ้านละลมเหนือ หมู่ที่ ๑ บ้านละลมใต้ หมู่ที่ ๒ บ้านธาตุ หมู่ที่ ๓ บ้าน โกแดง หมู่ที่ ๔ บ้านพรหมทอง หมู่ที่ ๕ บ้านโคกแก้ว หมู่ที่ ๖ บ้านโพธิ์เงิน หมู่ที่ ๗ บ้านตาเนียม หมู่ที่ ๙ บ้านละลมกลาง หมู่ที่ ๑๐  บ้านตาไกรพัฒนา หมู่ที่ ๑๑ บ้านประเสริฐพัฒนา หมู่ที่ ๑2 บ้านละลมหนองหาร หมู่ที่ ๑๓

(๓) ตำบลตะเคียนราม ได้แก่ บ้านตะเคียนรามตะวันออก หมู่ที่ ๑ บ้านตะเคียนรามตะวันตก หมู่ที่ ๒           บ้านตะเคียนรามกลาง หมู่ที่ ๓ บ้านขยอง หมู่ที่ ๔ บ้านระเบ๊าะ หมู่ที่ ๕ บ้านตาโตว์ หมู่ที่ ๖ บ้านตาโสม หมู่ที่ ๘       บ้านพยอม หมู่ที่ ๙ บ้านตำหนัก หมู่ที่ ๑๑ บ้านห้วยยาง หมู่ที่ ๑๒ บ้านโคกสะอาด หมู่ที่ ๑๓ บ้านใหม่สามัคคี หมู่ที่ ๑๔

(๔) ตำบลโคกตาล ได้แก่ บ้านโคกตาล หมู่ที่ 1 บ้านลุมพุก หมู่ที่ ๒ บ้านคลองแก้ว หมู่ที่ ๓ บ้านศาลา หมู่ที่ ๔ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๖  บ้านนาศิลา หมู่ที่ ๙ บ้านโคกตาลกลาง หมู่ที่ ๑๐ บ้านลุมพุกพัฒนา หมู่ที่ ๑๑ บ้านเขาแดง หมู่ที่ ๑๒ บ้านโคกทราย หมู่ที่ ๑๓

.๔ หมู่บ้านเป้าหมายเร่งด่วนอันดับ ๓ ประกอบด้วย ๑๓ หมู่บ้าน ๒ ตำบล

(๑) ตำบลไพรพัฒนา ได้แก่ บ้านนาตำบล หมู่ที่ ๑ บ้านแซไปร์ หมู่ที่ ๔ บ้านโอว์ปังโกว์ หมู่ที่ ๖ บ้านโคกชาติ    หมู่ที่ ๗  บ้านแซร์ไปร์ใต้ หมู่ที่ ๘ บ้านทางสายลวด หมู่ที่ ๙

(๒) ตำบลดงรัก ได้แก่ บ้านนาตราว หมู่ที่ ๑ บ้านไร่พัฒนา หมู่ที่ ๒ บ้านจำปานวง หมู่ ที่ ๓ บ้านกลาง หมู่ที่ ๕ บ้านแซร์สโบว์ หมู่ที่ ๖ บ้านโนนจำปา หมู่ที่ 7 บ้านสันติสุข หมู่ที่ ๘

๕. หน่วยงานรับผิดชอบ

         ๕.๑ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กรมวิชาการเกษตร

         ๕.๒ หน่วยงานวิชาการ (กรมวิชาการเกษตร)

                ๕.๒.๑ หน่วยงานหลัก : ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                ๕.๒.๒ หน่วยงานร่วมดำเนินการ

                            (๑) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4

                            (๒) ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี

                            (๓) ศูนย์ควบคุมยางบุรีรัมย์

                            (๔) ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

                ..๓ หน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติงานภายในศูนย์ฯ

    ๑). กรมการข้าว  โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวศรีสะเกษ กรมการข้าว

กิจกรรมหลัก  การทดสอบและผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว       ให้เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

                    ๒). กรมหม่อนไหม  โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ

กิจกรรมหลัก  ทดสอบสาธิตการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การดูแลรักษาแปลงสาธิตในโครงการ การผลิตพันธุ์หม่อนและผลิตไข่ไหม การอบโรงเรือนเลี้ยงไหม สนับสนุนไข่ไหม และพันธุ์หม่อนแก่เกษตรกร ติดตามให้คำแนะนำการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

                    ๓). กรมส่งเสริมการเกษตร  โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานเกษตรอำเภอภูสิงห์

กิจกรรมหลัก  การสาธิตการจัดทำแปลงเรียนรู้การเกษตรแบบผสมผสาน การผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายข้าวขาว    ดอกมะลิ ๑๐๕ ให้แก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการถนอมและแปรรูปผลผลิต การอบรมเกษตรกรด้านการผลิต การส่งเสริมการปลูกข้าว ฯลฯ มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ๔0 ไร่

                   ๔). กรมพัฒนาที่ดิน  โดยสถานีพัฒนาที่ดินศรีสะเกษ

กิจกรรมหลัก  สาธิตส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำ สาธิตการปลูกหญ้าแฝก และเป็นศูนย์ผลิตและขยายพันธุ์ หญ้าแฝกแจกจ่ายเกษตรกร บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ข้อมูลดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ย   พืชสด มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ๔๒ ไร่

                    ๕). กรมประมง  โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดศรีสะเกษ

กิจกรรมหลัก  การผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ การปล่อยและแจกพันธุ์สัตว์น้ำ การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำ ส่งเสริมประมงโรงเรียน ติดตามผลการเลี้ยงสัตว์น้ำกับหมู่บ้านที่มีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำ    การฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ๕๐ ไร่

                     ๖). กรมปศุสัตว์  โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอภูสิงห์

กิจกรรมหลัก สาธิตการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ดเทศ สุกร โคขุน ไก่พื้นเมือง ๓ สายเลือด สาธิตการเลี้ยงโคขุน การขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เช่น ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สู่ครอบครัวเกษตรกร ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร ฯลฯ   มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ ฯ  ๑๑๐ ไร่

                    ๗). กรมป่าไม้  โดยโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (กรมป่าไม้)

กิจกรรมหลัก  ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สาธิตและทดสอบ ระบบวนเกษตร การเพาะชำกล้าไม้ งานธนาคารอาหารชุมชนและพืชสมุนไพร แจกจ่ายกล้าไม้ให้เกษตรกรและหน่วยงานต่าง ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดทำแปลงเรียนรู้และศึกษาดูงานของเกษตรกร/องค์กรต่าง ๆ มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ๓๐ ไร่

                      ๘). กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  โดยโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกลุ่มประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี

กิจกรรมหลัก  สาธิตการปลูกป่า การเพาะชำกล้าไม้ การเพาะชำกล้าหวาย บำรุงรักษาสวน ป่าอาหารนก ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง บำรุงไม้สองข้างทาง บำรุงและส่งเสริมการขยายพันธุ์หวาย สาธิตจัดทำแปลงธนาคารอาหารชุมชน การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ  ๘๐ ไร่

                    ๙). กรมทหารราบที่ 16  โดยกองพันทหารราบที่ 3 ค่ายบดินทรเดชา จังหวัดยโสธร

กิจกรรมหลัก  จัดชุดประสานงานประจำพื้นที่ เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมปฏิบัติงานกับส่วนราชการ ขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ สนับสนุนโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ อำเภอภูสิงห์ และติดตามกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้าอบรมการย้อมสีธรรมชาติ ธนาคารข้าว โคไถ่ชีวิต ผู้ป่วยและนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ ติดตามการดำเนินงานของสมาชิก ติดตามการปฏิบัติงานของสมาชิกที่ได้รับพระราชทานเสาวนีย์และการบ้าน มีพื้นที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ๖๕ ไร่

                    ๑๐). กรมชลประทาน  โดยโครงการชลประทานศรีสะเกษ

กิจกรรมหลัก  จัดส่งและบำรุงรักษาน้ำระบบท่อจากอ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู เพื่อนำมาใช้ทำการเกษตรภายในศูนย์ฯ และส่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ 20,000 ไร่ เพื่อสนับสนุนราษฎรทำการเกษตร ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ ศึกษาความเหมาะสมและปรับปรุงระบบชลประทานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่การส่งน้ำให้กับราษฎรทำการเกษตร

                    ๑๑). จังหวัดศรีสะเกษ  โดยสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ และที่ว่าการอำเภอภูสิงห์

กิจกรรมหลัก  เป็นศูนย์อำนวยการและประสานการปฏิบัติงาน ผลักดันโครงการ/กิจกรรม และงบประมาณ    เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ให้บรรลุวัตถุประสงค์

                     ๑๒). กรมส่งเสริมสหกรณ์  โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมหลัก  ดูแลงานด้านการให้คำแนะนำ ส่งเสริมเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจ กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการวิธีการสหกรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการประจำเดือนของสหกรณ์

               ๑๓). สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ 

                กิจกรรมหลัก  ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้กับเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง