กรมปศุสัตว์
ดูแลงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ศรีสะเกษ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอภูสิงห์
กิจกรรมหลัก การสาธิตการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ดเทศ สุกรโคขุน ไก่พื้นเมือง 3 สายเลือด การถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การฝึกอบรมเกษตรกร การสาธิตการเลี้ยงโคขุน การขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เช่น ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สู่ครอบครัวเกษตรกร ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร ฯลฯ พื้นที่ 110 ไร่
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
การดำเนินงาน
1. เพื่อศึกษา วิจัย ทดสอบ ด้านปศุสัตว์ และหาแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่
2. สาธิตการเลี้ยงสัตว์ การผลิตสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรและผู้สนใจ ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง
3. การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร นักเรียน และชุมชน ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง ให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการเลี้ยงสัตว์ การป้องกันโรค และการขยายพันธุ์สัตว์ เพื่อให้เกษตรกร ครู นักเรียน มีความรู้สามารถปฏิบัติงานเลี้ยงสัตว์ของตนเอง รวมทั้งถ่ายทอดแก่ผู้สนใจได้
4. ส่งเสริมการลี้ยงสัตว์สู่เกษตรกร โรงเรียน เพื่อให้สามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์ เป็นอาหารโปรตีนบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้ เป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน ลดปัญหาการขาดสารอาหารโปรตีน และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนและชุมชน
โครงการ/กิจกรรม
สาธิตการเลี้ยงสัตว์
- สุกรแม่พันธุ์
- เป็ดเทศ
- ไก่ประดู่หางดำ
- ปลูกพืชอาหารสัตว์
การถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงสัตว์
- ฝึกอบรมผู้เลี้ยงสุกร
- ฝึกอบรมผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ
- ฝึกอบรมผู้เลี้ยงเป็ดเทศ
- ฝึกอบรมผู้เลี้ยงโค
ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สู่เกษตรกร
- ลูกสุกร
- ลูกไก่ประดู่หางดำ
- เป็ดเทศ
ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สู่โรงเรียน(เป็ด/ไก่)
ผลลัพธ์ของโครงการ
- เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
- โรงเรียนได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
ตัวชี้วัด
- จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
- จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
ผลการดำเนินงาน
1. ฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง”
ผลการดำเนินงาน
ได้ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง”เพื่อให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ให้มีความรู้ความเข้าใจ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่เกษตรกรในการประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จึงได้ดำเนินการฝึกอบรมการเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2. ฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน
ผลการดำเนินงาน
ได้ดำเนินจัดฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภูพาน 6 กลุ่ม
การติดตามประเมินผลโครงการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน
1. ฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน
2. จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภูพาน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านใหม่สามัคคี
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านกระโดน
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภูเงิน
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองคัน
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านดงตาดทอง
- กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อไฮเลิง
- ผสมเทียมโคเนื้อภูพาน
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน